GPeR & GPeR IP67 ต่อแลนให้ไกลถึง 1.5 กม.
สวัสดีครับ
วันนี้ผมจะมาเขียนถึงอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ต่อสายแลนให้ได้ไกลเกิน 100 เมตร
ปกติการเดินสายแลนจะมีข้อจำกัดที่ระยะทางประมาณ 100 เมตรแล้วจะเจออาการอุปกรณ์ไม่ได้ IP
ต้องมี switch คั่นทุก 100 เมตร แต่ทำไมตัวต่อสายแลนตัวนี้ได้ถึงกล้าเคลม 1500 เมตรเลย
เพราะว่ามันเป็น switch POE แบบเข้า 1 ออก 1
โดยมันรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 24-57V
ขาออกรองรับ 802.3af/at แต่ลองใช้ POE 24V-1A จ่ายกระแสให้แล้วเสียบ AP ที่รองรับ 802.3af/at อุปกรณ์ไม่ทำงาน (นั่นคือ ตัวมันเองไม่เป็น step up ให้ครับ)
รายละเอียดอุปกรณ์
ตารางแรงดัน Volt in และ out
สมมุติว่าต่อสูงสุด 7 ตัวจะได้ตามตางรางนี้ครับ
เล่าสู่กันฟัง สายแลนผมเคยเทสระยะสูงสุดประมาณ 120 เมตร สามารถจ่ายไฟให้ AP ทำงานและจ่าย dhcp ได้
โดยอุปกรณ์ที่เทสเป็น UAP-LR และ POE ที่ใช้เป็น 24V-12W ตรงรุ่น
วัดแรงดันที่ต้นสายได้ 24.3V สายแลน outdoor ทั้งกล่อง 305 เมตร ปลายสายวัดได้ 24.0V
UAP-LR ไฟติด แต่ไม่จ่าย IP เพราะ data ไม่มา
ทดสอบเอาสายแลนต่อจากเร้าเตอร์เข้าคอม ไม่ได้ IP ครับ
จากนั้นก็ทดสอบตัดทีล่ะ 50 เมตร เทสว่าได้ dhcp จากเร้าเตอร์ไหม
อาจได้ 120-150 เมตร ขึ้นอยู่กัยคุณภาพสายแลน ตรงนี้ไม่แนะนำ
ยกตัวอย่าง
เดินสายแลนระยะ 120 เมตร ใช้งานได้ 2-3 ปีผ่านไป(หรือนานกว่านั้น)เกิดใช้งานไม่ได้ เพราะคุณภาพสายเสื่อมสภาพหรือลดลงไป
สายแลน UTP CAT5e ใช้แกนขนาด 24 AWG รองรับแบนด์วิดธ์สูง 350 MHz ใช้งานได้ถึง 1 Gbps
CAT6 ใช้แกน 23 AWG รองรับแบนด์วิดธ์สูง 600 MHz ใช้งานได้ถึง 10 Gbps
*อันนี้อ้างอิงจาก link US-9015 และ US-6116LSZH
จะเห็นว่าแกนลวดทองแดงของ CAT6 มีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่า CAT5e ถึง 1 เบอร์
น่าเสียดายที่ร้านไม่มีสาย CAT6 อยู่ เลยไม่ได้เทสมาให้ดูครับ
เดี๋ยวไม่ได้เอ่ยถึง GPeR กับ ตัว GPeR IP67
GPeR คือ switch POE 2 ช่องสำหรับต่อเพิ่มระยะสายแลน ใช้ซิป Marvell E6341
ส่วน GPeR IP67 ก็คือเคสกันน้ำสำหรับมันกรณีที่ต้องเดินสายออกไปนอกอาคาร,outdoor หรือจุดเสี่ยงที่อาจจะมีน้ำหยด,ความชื้น
ตัว GPeR จะมี Jumper ด้วย กรณีที่อุปกรณ์ไม่รองรับ POE ก็ให้ถอดออก
https://help.mikrotik.com/docs/display/UM/GPeR
สำหรับตัว Power input แนะนำให้ใช้ passive POE DC 24-57V
กรณีที่ใช้ active POE แล้วปลายทางไม่ได้รองรับ POE in มันจะใช้ไม่ได้ครับ
เหมาะกับใคร
แนวทางที่ 1
อุปกรณ์ในระบบเป็น Home User ทั่วไป ที่คิดจะทำระบบเอง
300 เมตร 1 ชุด
GPeR ราคา 950 เคสกันน้ำราคา 200 สายแลน CAT6 สลิง 305 เมตรกล่องล่ะ 4,150 หัว CAT6 4x10=40
และๆ มีอุปกรณ์อีก 2 ชิ้นที่ลืมใส่เข้าไปด้วย คือ RBGPOE และ Power supply สำหรับจ่ายไฟให้ (เผื่อลากยาวก็ 57V 0.8A ครับ)
20$ ตีกลมๆ ประมาณ 700 บาทไทย
950+200+4150+40=5,340 +700=6,040
#สายแลนเหลือเศษ 5 เมตร ถ้าใช้สายแลน outdoor ไม่มีสลิงลดลงอีก 860 บาท
510 เมตร 2 ชุด
(1,150x2)+(4,150 x2)+(6x20)=10,720 +700=11,420
#สายแลนเหลือเศษ 200 เมตร (200x13=2,600) เท่ากับงบประมาณ 8,820
915 เมตร 5 ชุด
(1,150x5)+(4,150x3)+(12x20)=18,440+700 =19,140
#เห็นราคาแล้วอยากถอยเลยใช่ไหมครับ
แนวทางที่ 2 Pro ขึ้นมาหน่อย
ราคาเบาๆ หาตามร้านขายอุปกรณ์ network อยู่ประมาณนี้ครับ
Fiber optic 1 core 300 เมตร+Media WDM Gigabit ราคาประมาณ 1,950
500 เมตร ประมาณ 2,500
#ราคานี้อ้างอิงจากร้านขายอุปกรณ์ดาวเทียม
แนวทางที่ 3 Pro สุดๆ
กรณีในระบบใช้ switch ที่มี SFP หรือ SFP+ อยู่แล้ว
เช่น US-8-150W(ubnt SFP x2 ช่อง ราคา 7,500),RB260GS (SFP x1 ราคา 1,200)
ที่ต้องซื้อเพิ่ม
UF-SM-1G-S ราคาคู่ล่ะ 1,190 ลากได้สูงสุด 3 กม.
S-3553LC20D ราคาคู่ล่ะ 2,300 ลากได้ไกลสุด 20 กม.
สาย Fiber 1 core พร้อมสลิง 1000 เมตร ราคา 1,800-2,000
300 เมตร x 2=600
500 เมตร x 2=1,000
หัว LC/UPC แพ็ค 10 ราคา 550
ถ้า 300 เมตรจะใช้งบ 600+110+1,190=1,900
ถ้า 500 เมตร ประมาณ 1,000+110+1,190=2,300
ถ้า 1 กม. ก็ 3,300
ข้อสุดท้ายคือต้องมีเครื่องเข้าหัว fiber และอุปกรณ์เทสด้วยนะครับ
บอกแบบนี้แล้ว GPeR จะขายได้ไหม
มันก็ยังมีกลุ่มที่ต้องการใช้งานแบบนี้อยู่ครับ แม้ว่า 300 เมตร งบจะประมาณ 6,000
แต่ถ้ามีเร้าเตอร์ไวเลสแถมแล้วมันแทบจะไม่ได้ซื้ออะไรเพิ่ม
แต่ถ้าไปใช้แบบที่ 2 ถ้ามีแล้วก็ไม่ได้ซื้ออะไรเพิ่มเช่นกัน
ลองพิจารณาดูครับ